|
- หน้า 1 - |
คำตรัสจากพระโอษฐ์พระพุทธเจ้า / ดัชนี-แยกตามตัวอักษร ก-ฮ / ส-เสือ / สิกขาบท |
* * * คลิกให้กำลังใจผู้ทำเว็บ ด้วยการคลิกที่ "กรอบสีชมพู" ที่อยู่ด้านบนสุดให้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ - - - - - - - - - - - - - - - - - - - |
ข่าวสาร ( คลิกเพื่ออ่าน ) |
สิกขาบท - ข้อศีล , ข้อวินัย * * * : ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://dictionary.sanook.com/search/dict-th-th-pleang/สิกขาบท - - - - - - - - - - - - - - - - - - - สิกขาบท อ่านว่า สิก-ขา-บด บาลีเป็น “สิกฺขาปท” อ่านว่า สิก-ขา-ปะ-ทะ ประกอบด้วย สิกฺขา + ปท “สิกฺขา” มีรากศัพท์ คือ สิกฺข ( ธาตุ = ศึกษา , เรียนรู้ ) + อ ปัจจัย + อา ( ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์ ) : สิกฺข + อ = สิกฺข + อา = สิกฺขา “สิกฺขา” แปลตามศัพท์ว่า “ข้อปฏิบัติอันบุคคลพึงศึกษา” หมายถึง การศึกษา , การฝึก , สิกขาหรือวินัย ( study , training , discipline ) ในภาษาไทย “สิกฺขา” นิยมใช้ตามรูปสันสกฤต คือ “ศิกฺษา” แล้วเสียงกลายเป็น “ศึกษา” และพูดทับศัพท์ว่า “ศึกษา” จนเข้าใจกันทั่วไป “ศึกษา” ในความเข้าใจทั่วไป มักหมายความเพียงแค่ “เรียนวิชาความรู้” แต่ “สิกฺขา” ในภาษาบาลีหมายถึง การฝึกฝนปฏิบัติ, การเล่าเรียนให้รู้เข้าใจและฝึกหัดปฏิบัติให้เป็นคุณสมบัติที่เกิดมีขึ้นในตนหรือให้ทำได้ทำเป็น ตลอดจนแก้ไขปรับปรุงหรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไปจนถึงความสมบูรณ์ สำหรับบรรพชิต “สิกฺขา” หมายถึงระบบวิถีชีวิตทั้งชีวิต เช่น คฤหัสถ์บวชเป็นภิกษุ นั่นคือการเข้าสู่ระบบสิกขา คือใช้ชีวิตเยี่ยงบรรพชิตตามที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ “ปท” แปลว่า เท้า , รอยเท้า , ทาง , ตำแหน่ง , สถานที่ , กรณี , หลักการ , ส่วนประกอบ ( foot , footstep , track , position , place , case , principle , ingredient ) “ปท” ในภาษาไทยมักใช้ทับศัพท์ว่า “บท” สิกฺขา + ปท = สิกฺขาปท > สิกขาบท แปลตามศัพท์ว่า “ทางแห่งการฝึกฝน” หรือ “หัวข้อสำหรับฝึกศึกษา” พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สิกฺขาปท” เป็นภาษาอังกฤษว่า set of precepts , “preceptorial” code of training ; instruction , precept , rule ( สิกขาบท , “คำสอน”, หลักเกณฑ์ของการศึกษา ; คำสั่งสอน , ระเบียบ , ข้อบังคับ ) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต แปลคำว่า “สิกขาบท” เป็นภาษาอังกฤษว่า ( Sikkhāpada ) a disciplinary rule ; rule of morality; precept ; training rule พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า - “สิกขาบท : ( คำนาม ) ข้อศีล , ข้อวินัย , บทบัญญัติในพระวินัยที่พึงศึกษาปฏิบัติ” พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกไว้ว่า - “สิกขาบท : ข้อที่ต้องศึกษา , ข้อศีล , ข้อวินัย , บทบัญญัติข้อหนึ่งๆ ในพระวินัยที่ภิกษุพึงศึกษาปฏิบัติ , ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีล 227 ศีล 311 แต่ละข้อๆ เรียกว่าสิกขาบท เพราะเป็นข้อที่จะต้องศึกษา หรือเป็นบทฝึกฝนอบรมตนของสาธุชน อุบาสก อุบาสิกา สามเณร สามเณรี ภิกษุ และภิกษุณี ตามลำดับ” ความแตกต่างระหว่าง สิกขา กับ สิกขาบท : - “สิกขา” คือ ระบบวิถีชีวิตทั้งปวงตามที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ - “สิกขาบท” คือ บทบัญญัติ หรือศีลข้อหนึ่งๆ อันเป็นส่วนย่อยในสิกขา เทียบกับกฎหมาย “สิกขาบท” ก็คือ “มาตรา” แต่ละมาตราในตัวบทกฎหมายนั่นเอง : ศีลมีกี่ข้อ ก็สำคัญ : รักษาศีลให้ครบทุกข้อ สำคัญที่สุด * * * : ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://dhamtara.com/?p=5477 - - - - - - - - - - - - - - - - - - - |
|
- จบ - |
ข่าวสาร ( คลิกเพื่ออ่าน ) |
![]() |