|
ภาคผนวก
วิธีถือนิสสัย , วิธีเสียสละของ , ปลงอาบัติ ,
กรรมวาจาสมมติเจ้าหน้าที่ทำ การสงฆ์ , วิธีมอบฉันทะบริสุทธ์ิ ,
ภิกขุปาติโมกข์ , ปวารณา , กฐิน ฯลฯ
ส่วนปิดท้ายภาคผนวก
หมายเหตุ
- วิธีพินทุ , วิธีอธิษฐานบริขาร , คำขอขมาโทษ ฯลฯ
ที่ยังไม่พบในพุทธวจน ได้ถูกรวบรวมไว้ในส่วนปิดท้ายภาคผนวก
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
* * * *
วิธีถือ
นิสัย
/////
วิธีถือนิสัยอุปัชฌาย์
สัทธิวิหาริก
/////
นั้น พึงห่มผ้า
อุตตราสงค์
/////
เฉวียงบ่า ไหว้เท้า
นั่งกระโหย่ง
/////
ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำอย่างนี้ 3 หนว่า
“อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ”
“ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอุปัชฌายะของข้าพเจ้า “
อุปัชฌาย์
/////
รับว่า “สาหุ ดีละ , ละหุ เบาใจละ , โอปายิกัง ชอบแก่อุบายละ
, ปะฏิรูปัง สมควรละ , ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ
จงยังความปฏิบัติให้ถึงพร้อมด้วยอาการอันน่าเลื่อมใสเถิด”
ดังนี้ก็ได้ รับด้วยกาย รับด้วยวาจา รับด้วยทั้งกายและวาจาก็ได้
เป็นอันว่าอันเตวาสิกถืออาจารย์แล้ว ,
ไม่รับด้วยกาย ไม่รับด้วยวาจา ไม่รับด้วยทั้งกายและวาจา
ไม่เป็นอันว่าอันเตวาสิกถืออาจารย์แล้ว
( ถ้าท่านรับสัทธิวิหาริก พึงกล่าวรับว่า “สาธุ ภันเต” )
วิธีถือนิสัยอาจารย์
อันเตวาสิก นั้น
/////
พึงห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้านั่งกระโหย่ง
ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ 3 หนว่า
“อาจะริโย เม ภันเต โหหิ , อายัส๎มะโต นิสสายะ วัจฉามิ”
“ท่านเจ้าข้า
ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้าข้าพเจ้าจักอาศัยท่านอยู่”
( ลำดับต่อจากนี้ เหมือนกับวิธีถือนิสัยพระอุปัชฌาย์ทุกอย่าง )
|
|